ใบเซอร์ (Diamond Certificate)

ใบเซอร์ (Diamond Certificate)

เมื่อคุณต้องซื้อแหวนเพชร แหวนหมั้น แหวนแต่งงาน
แต่ไม่แน่ใจว่าจำเป็นต้องซื้อเพชรที่มีใบเซอร์ หรือไม่?

 

ใบเซอร์เพชร GIA และ HRD ต่างกันอย่างไร? จำเป็นต้องมีหรือไม่?

ซื้อเพชรมีใบเซอร์ดียังไง ?

  • ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าเพชรที่คุณได้เป็นเพชรแท้ธรรมชาติของจริงแน่นอน ไม่ต้องกลัวว่าจะเป็นเพชรสังเคราะห์ (Lab grown diamond) หรือ เป็น Crystal, CZ, Moissanite
  • สามารถเปรียบเทียบราคาได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากเพชรมีปัจจัยอยู่หลายด้านคุณจึงจำเป็นต้องมีความชำนาญขั้นสูงเพื่อที่จะทราบคุณภาพที่แท้จริงของเพชรได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นถ้าเพชรไม่มีใบเซอร์ที่ออกให้โดยคนกลาง (คนกลางที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการซื้อขายครั้งนี้) คุณก็จะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการซื้อขายครั้งนี้ เช่น ทางร้านบอกว่าเพชรเม็ดนี้ 1กะรัต สี G color (น้ำ 97) VVS2 3EX ไม่มี fluorescence ราคา 250,000 บาท ซึ่งถ้าคุณไปถามร้านอื่นราคาตลาดสเปคนี้อยู่ที่ 290,000 บาทคุณก็อาจจะตัดสินใจซื้อกับร้านแรกไปเรียบร้อย แต่หารู้ไม่ว่าที่เพชรที่คุณได้นั้นคือสี H (น้ำ 96) VS1 2EX มี faint fluorescence ซึ่งจริงๆแล้วสเปคนี้ไม่ได้ถูกกว่าร้านอื่น หรือหนำซ้ำแพงกว่าร้านอื่นด้วยซ้ำไป ดังนั้นถ้าเพชรมีใบเซอร์ที่ออกให้โดยคนกลางจะทำให้คุณสามารถเปรียบเทียบราคาเพชรของแต่ละร้านได้อย่างแม่นยำมากที่สุด
  • สามารถประเมินมูลค่าเพชรในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
  • ไม่ถูกกดคุณภาพและราคา เมื่อนำไปขายต่อในอนาคต
  • ซื้อ-ขาย คล่องตัว เพราะมีใบเซอร์เป็นหลักประกัน ทำให้ขายเพชรได้ตามราคาตลาดทั่วไป
  • สามารถนำ jewelry เข้า after-sale service เช่นปรับไซส์แหวน ขัดชุบเงาใหม่ ได้อย่างสบายใจไร้กังวล ที่ใดก็ได้ไม่ต้องห่วงว่าร้านจะสลับเพชรของเรา  เนื่องจากจะมีเลขถูกยิงเลเซอร์ไว้ที่ขอบเพชร เวลารับ jewelry ชิ้นนั้นกลับคืนมาจากการเข้า after-sale service เราสามารถตรวจสอบเพชรได้ด้วยการส่องกล้องขยายเพื่อเช็คตัวเลขที่ขอบเพชรว่าตรงกับเลขเซอร์ของเราหรือไม่
  • สามารถส่งต่อเพชรให้ลูกหลานได้อย่างยั่งยืน ถึงแม้เราจะทำใบเซอร์หาย ลูกหลานก็ยังคงสามารถเช็คสเปคเพชรเม็ดนั้นได้ว่าเพชรเม็ดนั้นสเปคอะไรโดยการคีย์ตัวเลขเซอร์ที่ถูกยิงบนขอบเพชรเข้าไปในเว็ปไซต์ GIA Report Check หรือ HRD Report Check

ซื้อเพชรไม่มีใบเซอร์จะเป็นยังไง ?

  • เสี่ยงกับการโดนหลอก อาจได้รับเพชรปลอม
  • คุณอาจจะได้เพชรที่ไม่ตรงกับสเปคคุณภาพที่คุณต้องการ ซึ่งในการซื้อเพชรแบบไม่มีใบเซอร์นั้น คุณต้องเชื่อมั่นในตัวผู้ขาย และต้องเชื่อในสิ่งที่ผู้ขายแจ้ง
  • คุณอาจซื้อเพชรในราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง เพราะไม่มีใบเซอร์ระบุสเปกเพชรที่ชัดเจน
  • ซื้อ-ขาย ไม่ได้ราคาดีเท่ากับเพชรที่มีใบเซอร์ เพราะจะถูกกดราคาได้ง่าย ไม่มีอะไรไปยืนยัน

 

“เมื่อคุณรู้อย่างนี้แล้ว คงช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการเลือกซื้อเพชร ว่าจะซื้อแบบที่มีใบเซอร์ หรือ ไม่มีใบเซอร์ดี เพราะจริงๆแล้วใบเซอร์ก็เป็นปัจจัยต้นๆ ในการเลือกซื้อเพชรสักเม็ด แต่หากคุณต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกซื้อเพชร สามารถปรึกษา CELI ได้ฟรี!!! ที่นี่  เพราะเราคือผู้เชี่ยวชาญตัวจริงที่จะช่วยคุณเลือกเพชรได้อย่างมีคุณภาพ”

                                            Diamond Certificates | Uniglo DiamondsDiamond Certificates | Uniglo Diamonds

ใบเซอร์ของแต่ละสถาบันเหมือนกันมั้ย? ควรใช้สถาบันใด? ราคาแตกต่างกันหรือไม่?

… เริ่มจากใบเซอร์ที่นิยมกันมากที่สุดมีอยู่ 2 สถาบัน คือ GIA และ HRD …

 

1. “GIA( GEMOLOGICAL INSTITUTE OF AMERICA )” เป็นสถาบันของประเทศสหรัฐอเมริกาและมีสาขาตามประเทศต่างๆที่เป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายเพชรทั่วโลก (มีสาขาที่ไทย) สถาบัน GIA นับได้ว่าเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของเพชรเป็นรายแรกๆของโลก ทำให้ใบเซอร์เพชร GIA ได้รับความน่าเชื่อถือสูงสุด และได้รับการยอมรับมากที่สุดในตลาดอัญมณีโลก นั่นจึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เพชรใบเซอร์ GIA ซื้อง่ายขายคล่องกว่าเพชรที่มีใบเซอร์จากสถาบันอื่นๆ

ใบเซอร์ GIA มี 2 ขนาด คือแบบย่อ / ใบเซอร์เล็ก (สำหรับเพชรต่ำกว่า 1 กะรัต) และ แบบเต็ม / ใบเซอร์ใหญ่ (สำหรับเพชร 1 กะรัตขึ้นไป)

  • ใบเซอร์แบบย่อ (เซอร์เล็ก) สำหรับเพชรขนาด 0.18 กะรัตถึง 0.99 กะรัต

จะมีการกำหนดข้อมูลพื้นฐานที่ครอบคลุมคุณภาพ 4Cs รวมไปถึงบอกรายละเอียดเบื้องต้นของประเภทของตำหนิในส่วนของ Clarity Characteristics

***หมายเหตุ: เพชรเซอร์เล็กที่ทำในปี 2023 เป็นต้นไป จะไม่มี Physical Certificate อีกต่อไป (เป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายของ GIA) จะมีเพียง Digital Certificate ดังนั้นทาง CELI จะปริ้นใบเซอร์ GIA บนใบรับรองของทางร้านให้ด้วยเพื่อให้ลูกค้าไว้เป็นข้อมูลอ้างอิง (Effective January 2023) ***

 

 

  •  ใบเซอร์แบบเต็ม (เซอร์ใหญ่) สำหรับเพชรขนาด 1 กะรัตขึ้นไป

จะมีเพิ่ม plotting ตำหนิมาให้ เราสามารถทราบถึงรายละเอียดของตำหนิได้ว่ามีหน้าตา ขนาด จำนวน และอยู่ส่วนใดของเพชร

 

2. “HRD หรือ HRD Antwerp” เป็นสถาบันอัญมณีของประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าเพชร และศูนย์กลางการเจียระไน และถือเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับมากเป็นอันดับต้นๆในฝั่งยุโรป โดยทั่วไปจะมีใบเซอร์ให้กับเพชรที่มีขนาด 1 กะรัตขึ้นไป  เป็นสถาบันที่มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ประเทศเบลเยี่ยมที่เดียว ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าเพชรและศูนย์กลางการเจียระไน สำหรับ HRD จะเน้นเพชรที่มีขนาด 1 กะรัตขึ้นไป และในส่วนของ Grading System จะมีเกณฑ์การให้เกรดที่สูงกว่า GIA ประมาณ ครึ่ง-1 เกรด แปลว่าเพชร GIA หากได้ I color นำไปขึ้นเซอร์กับ HRD จะได้ H color ดังนั้นเวลาเทียบราคาเพชรเราควรเทียบ H color ของ HRD กับ I color ของ GIA  (หากเปรียบเทียบ I color เหมือนกันของ HRD vs GIA, เซอร์ HRD จะมีราคาถูกกว่า GIA ประมาณ 10-15%)

นอกจาก 2 สถาบันข้างต้นแล้ว ในวงการเพชรยังมีใบเซอร์จากสถาบันอื่นๆอีก เช่น

  • HKD  เป็นสถาบันจากประเทศแคนาดา จะเป็นที่นิยมในกลุ่มของผู้ผลิตเครื่องประดับ, ร้านค้าขายปลีก และร้านค้าส่ง มีสาขาภายในประเทศไทยที่สามารถเข้าไปตรวจสอบเพชรได้อย่างสะดวก เพชรเซอร์ HKD จะมีราคาที่ถูกกว่าเพชรเซอร์ GIA และ HRD ค่อนข้างเยอะมากๆ (ประมาณ 50%) เมื่อเทียบเพชรเกรดเดียวกัน ซึ่งนั่นเป็นเพราะมาตรฐานคุณภาพของเกรดนั้นอาจจะไม่ตรงกันซะทีเดียว เช่น เพชรที่ได้เกรดสี E ของ HKD จะมีราคาถูกกว่าสี E ของ GIA ประมาณ 50% และราคาจะไปพอๆกับสี I color ของ GIA (ห่างกัน 4 grading steps) เพราะชะนั้นสำคัญที่เราจะต้องดูเพชรเป็นและเช็คสีและตำหนิให้ดีๆเมื่อพิจารณาซื้อเพชรใบเซอร์ HKD **** Rule of thumb **** เวลาเปรียบเทียบราคาเพชรใบเซอร์ HKD กับเพชรใบเซอร์ GIA ควรลดเกรดสีและความสะอาดของ HKD ไป 4 step เสมอ เช่น E color of HKD ให้ลดเกรดเป็น I color จากนั้นจึงนำไปเปรียบเทียบราคากับใบเซอร์ของสถาบันอื่นๆ (หากเทียบ E color HKD กับ E color GIA ราคาเพชรเซอร์ HKD จะถูกกว่าเพชรเซอร์ GIA ประมาณ 50% เพราะเพชรจริงๆนั้นคุณภาพ I color)
  • IGI ( International Gemological Institute) เป็นสถาบันที่มีสาขาเยอะที่สุดในโลก เหมาะสำหรับการออกใบเซอร์เพื่อความอยากรู้ อยากดูเล่นและเก็บไว้ที่บ้าน เพราะราคาในการออกใบเซอร์ถูกกว่าสถาบันอื่นเยอะมาก จึงไม่ได้รับความนิยมหรือยอมรับจากทั่วโลก
  • AGS (American Gem Society) สถาบันตั้งอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นสถาบันที่เน้นทางด้านการคัดเกรดของเพชร เคยเข้ามาอยู่ในประเทศไทย แต่ในช่วงนี้ได้ปิดสาขาไปแล้ว
  • EGL (European Gemological Laboratory) เป็นสถาบันของยิว ที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุดจากทั้งสถาบันอื่นๆ

อ่านต่อ: เพชรใบเซอร์สถาบัน GIA HRD IGI HKD ต่างกันอย่างไร? ควรใช้อันไหน?

 

ใบเซอร์ GIA อ่านอย่างไร???

#1: ชื่อสถาบันที่ออกใบเซอร์ ในตัวอย่างนี้คือ GIA

#2: วันที่ออกใบเซอร์

#3: หมายเลข report ให้ถือว่าเสมือนเป็นเลขบัตรประจำประชาชน ตอนซื้อเพชรให้ใช้กล้องตรวจสอบว่าเลขบนขอบเพชรนั้นตรงกันกับเลข report นี้ เพื่อให้มั่นใจว่าเพชรที่เราซื้อคือเม็ดเดียวกันกับเม็ดบนในเซอร์ นอกจากนี้คุณยังสามารถเช็คได้อีกว่าใบเซอร์นี้ของแท้หรือไม่ โดยไปที่ http://www.gia.edu/report-check-landing

#4: รูปทรง และรูปแบบการเจียระไนเพชรเม็ดนั้น

อ่านต่อ: รูปทรงเพชร

#5: ขนาดความกว้างและลึก (หน่วยเป็นมิลลิเมตร) สองตัวแรกคือเส้นผ่าศูนย์กลางที่สั้นที่สุด-ยาวที่สุด ตัวสุดท้ายคือความลึกจากหน้าถึงก้นเพชร

#6: น้ำหนักของเพชร

อ่านต่อ: กะรัตเพชร

#7: สีของเพชร โดยเกรดจาก D-Z

อ่านต่อ: สีเพชร/น้ำเพชร

#8: ความสะอาดของเพชร โดยเกรดจาก FL-I3

อ่านต่อ: ความสะอาดเพชร

#9: เกรดคุณภาพของการเจียระไน โดยเกรดจาก Excellent-Poor

#10: เกรดคุณภาพของการขัดเงาหลังจากการเจียระไน (ความเนียนของพื้นผิว) โดยเกรดจาก Excellent-Poor

#11: เกรดความสมมาตรของเพชร ซึ่งความผิดปกติของการเจียรนัยจะทำให้ความไม่สมมาตร และมีผลต่อการสะท้อนของแสงได้ โดยเกรดจาก Excellent-Poor

อ่านต่อ: 3EXCELLENCE

#12: การเรืองแสงของเพชร โดยเกรดจาก None-Very Strong

อ่านต่อ: Fluorescence

#13: ระบุถึงข้อความเพิ่มเติมในขอบเพชร (Girdle) โดยอาจเป็นข้อความที่มีอยู่แล้ว หรือข้อความที่ให้สลักเพิ่ม แต่ที่ต้องมีแน่ๆ คือหมายเลข report ตามข้อ 3

#14: หมายเหตุเพิ่มเติมระบุคุณลักษณะอื่นๆ เพิ่มเติมที่ควรทราบ ที่ไม่ได้แสดงในส่วนอื่นๆ ของใบเซอร์

#15: แสดงสัดส่วนจริงของเพชรเม็ดนี้เป็นตัวเลข % และองศา ซึ่งส่วนนี้จะส่งผลโดยตรงกับ การประเมินในข้อ 9, 10, 11

อ่านต่อ: สัดส่วนเพชร

#16: ภาพจำลองที่ระบุขนาด ประเภท และตำแหน่งของตำหนิ (size, type, location) แสดงรายละเอียดขยายความของข้อ 8

#17: สเกลของสี ความสะอาด และคุณภาพของการเจียระไนโดยจะเรียงจากคุณภาพสูงที่สุดไปยังต่ำที่สุด