เกรดเพชร-แหวนเพชรในกุหลาบ

เกรดเพชร…เพชรต้องมีเกรดด้วยเหรอ? ถ้าคุณกำลังตัดสินใจจะเลือกซื้อแหวนเพชรสักวง แต่ไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อน นี่คือคู่มือเบื้องต้นที่จะช่วยคุณเลือกซื้อเพชรได้อย่างเข้าใจ ตรงใจ และตอบโจทย์งบประมาณได้มากที่สุด

 

เกรดเพชรคืออะไร

เกรดเพชรคือการบ่งบอกคุณภาพของเพชรแต่ละเม็ด โดยเกรดดังกล่าวจะมีผลโดยตรงต่อราคาเพชรที่เราเลือกซื้อ ซึ่งเกรดนี้ถูกคิดค้นโดย GIA สถาบันอัญมณีศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา และเป็นที่รู้จักภายใต้ระบบ“4C’s” ที่ประกอบด้วยน้ำหนักกะรัต(Carat), ความสะอาด (Clarity), สี (Color) และการเจียระไน (Cut) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

น้ำหนักกะรัตเพชร

เกรดเพชรที่พิจารณาง่ายสุดคือกะรัต หรือ น้ำหนักของเพชร ซึ่งเพชร1 กะรัต จะมีค่าเท่ากับ200 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่า100 ตังค์ (point) เช่น เพชรน้ำหนัก 0.25 กะรัต คือเพชรยี่สิบห้าตังค์ และเพชร 1.07 กะรัต คือเพชรหนึ่งจุดศูนย์แปดกะรัต เป็นต้น โดยหลายคนมักเข้าใจว่ากะรัตหมายถึงขนาดของเพชร แต่ความจริงแล้วเพชรน้ำหนักกะรัตเท่ากัน อาจมีขนาดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปทรง และการเจียระไนเพชร

ซึ่งแน่นอนว่ากะรัตยิ่งสูง ยิ่งมีผลต่อราคาของเพชร และถึงแม้จะเป็นเพชรกะรัตเท่ากัน ราคาก็แตกต่างกันได้ขึ้นอยู่กับความสะอาด สี และการเจียระไนของเพชรเช่นกัน 

 

เกรดเพชร-สะอาด

ความสะอาดเพชร

ความสะอาด คือเกรดเพชรที่บ่งบอกขนาดตำหนิ หรือมลทินในเนื้อเพชร โดยตำหนิที่เกิดภายในจะเรียกว่า Inclusion ในขณะที่ตำหนิภายนอกจะเรียกว่า Blemish ซึ่งเพชรที่ไร้ตำหนิโดยสิ้นเชิงจัดเป็นอัญมณีหายากที่มีมูลค่าสูงมาก โดยแบ่งออกเป็น 6 ประเภทใหญ่ และ 11 ระดับย่อย ได้แก่:

  • Flawless (FL):ไร้ตำหนิทั้งภายใน และภายนอกโดย
  • สิ้นเชิงแม้ส่องด้วยกล้องขยาย10 เท่า
  • Internally Flawless (IF):ไม่มีตำหนิภายใน มีเพียงตำหนิภายนอกเล็กน้อยที่ส่องด้วยกล้องขยาย10 เท่าจึงจะเห็น
  • Very, Very Slightly Included (VVS1และVVS2):มีตำหนิภายในแต่สังเกตได้ยากมากเมื่อส่องด้วยกล้องขยาย10 เท่า แม้เป็นผู้เชี่ยวชาญ
  • Very Slightly Included (VS1และVS2):มีตำหนิภายในขนาดเล็กอาจมองหาได้ยาก หรือง่ายมากเมื่อส่องด้วยกล้องขยาย 10 เท่า โดยผู้เชี่ยวชาญ
  • Slightly Included (SI1และSI2):มีตำหนิภายในที่สังเกตได้ง่ายเมื่อส่องด้วยกล้องขยาย10 เท่า
  • Included (I1, I2 และ I3):มีตำหนิภายในที่เห็นได้ชัดเมื่อส่องด้วยกล้องขยาย10เท่า หรือมองด้วยตาเปล่า ซึ่งมีผลต่อการกระจายแสง การเล่นไฟ และความขาวใสของเพชร

อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่สุดในเรื่องความสะอาดของเพชร คือตำหนิที่เกิดขึ้นไม่ควรมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (eye-clean) ต้องใช้กล้องขยาย 10 เท่า หรือลูปส่องดูเท่านั้นจึงจะเห็น และตำหนิที่เกิดขึ้นไม่ควรทำให้การกระจายแสงของเพชรด้อยลง

ทั้งนี้ ตำแหน่งการเกิดตำหนิของเพชรก็มีผลต่อความทนทานของเพชรเช่นกัน หากตำหนิดังกล่าวเกิดบริเวณเหลี่ยม หรือขอบเพชร อาจทำให้เพชรแตกได้เมื่อโดนกระทบอย่างรุนแรง หรือร่วงหล่นลงพื้น เพราะถึงแม้เพชรจะมีความแข็งสูงสุดเมื่อเทียบกับอัญมณีชนิดอื่น แต่ไม่มีความเหนียว จึงเปราะได้ง่ายกว่า ฉะนั้นการเลือกเรือนแหวนก็มีส่วนสำคัญในการปกป้องเพชรกะรัตงามของคุณเช่นกัน

อ่านต่อ: ความแตกต่างระหว่าง แหวนทอง VS. แหวนทองคำขาว VS. แหวนโรสโกลด์ 

อ่านต่อ: แหวนทองคำขาว หรือ แหวนแพลทินัม อะไรดีกว่ากัน

 

เกรดเพชร-สีเพชร

สีเพชร (น้ำเพชร)

เกรดเพชรลำดับนี้เป็นที่รู้จักกันดีในภาษาไทยว่า “น้ำเพชร” หรือ ความขาวใสไร้สีของเพชร โดยเริ่มต้นจากเกรด D ไปจนถึง Z ซึ่งเกรด D – F จัดเป็นเพชรไร้สี และเกรด D มีมูลค่าสูงสุด ในขณะที่ G – H เป็นเพชรเกือบไร้สี, I – G เป็นเพชรเกือบไร้สีที่สังเกตความอมเหลืองได้เล็กน้อย , K-M เป็นเพชรสีอมเหลืองอ่อน,N-R เป็นเพชรสีอมเหลือง และS-Z เป็นเพชรสีอมเหลืองชัดเจน

อย่างไรก็ตาม สีเพชรที่เกรดต่างกันไม่มากเช่น D-F ก็ไม่สามารถแยกได้ด้วยตาเปล่าหากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่ถึงกระนั้น ก็ย่อมมีผลต่อราคาที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งตัวเรือนแหวนที่เหมาะกับเพชรเกรดไร้สีคือ แหวนทองคำขาว และแหวนแพลทินัม เพราะแหวนทองคำจะสะท้อนสีเหลือง และลบล้างคุณสมบัติความไร้สีของเพชรเกรดD-F 

ในทางกลับกันหากนำเพชรเกรด J ประดับบนตัวเรือนแหวนทองคำ จะช่วยขับสีอมเหลืองของเพชรให้ดูขาวสว่างขึ้น และยิ่งน้ำหนักกะรัตมากขึ้นเท่าไหร่ การเลือกเกรดสียิ่งสำคัญ เพราะจะสังเกตสีของเพชรได้ง่ายขึ้น

 

เกรดเพชร-การเจียระไน

การเจียระไนเพชร

เกรดเพชรลำดับสุดท้ายคือการเจียระไนซึ่งมีผลต่อมุมองศา (diamond’s angles), สัดส่วน (proportions),ความสมมาตรของหน้าเพชรที่ถูกเจียระไน (symmetrical facets), ความสุกสว่างเวลาโดนไฟ (Brilliance), การกระจายแสง (fire), ความระยิบระยับ แวววาว เปล่งประกาย (scintillation)และรายละเอียดทั้งหมดของเพชร ส่งผลให้เกิด “เหลี่ยมเพชร”ที่สมมาตร และสวยงาม โดยแบ่งออกเป็น 5 เกรดย่อย ได้แก่:

  • Excellent:เปล่งประกาย และสะท้อนไฟผ่านหน้าเพชรได้ดีมากที่สุด
  • Very Good:เปล่งประกายไฟได้ดี แทบไม่แตกต่างจาก Excellent 
  • Good:เปล่งประกายไฟได้เพียงพอที่จะทำให้เพชรดูแวววาว 
  • Fair: เปล่งประกายไฟได้พอใช้ และไฟสามารถลอดผ่านด้านล่าง และด้านข้างได้ เหมาะกับเพชรเม็ดเล็ก ๆ เท่านั้น
  • Poor: เพชรที่ไม่มีการเปล่งประกาย หรือสะท้อนแสงใด ๆ ผ่านหน้าเพชร ดูหม่นหมอง ไม่สวยงาม 

โดยเพชร 1 กะรัตควรเป็นเกรด Excellent หรือ Very Good เท่านั้น ซึ่งทรงยอดนิยมในปัจจุบันคือทรงกลมแบบ Brilliant Cut ซึ่งมีเหลี่ยมทั้งหมด58 เหลี่ยม นอกจากยังมีเพชรทรงอื่น ๆ เช่น เพชรทรงรี, เพชรทรงหัวใจ, เพชรทรงมรกต และเพชรทรงหยดน้ำ เป็นต้น 

โดยการซื้อเพชรทรงกลมจะมี 3 ปัจจัยหลักที่ต้องพิจารณาได้แก่ สัดส่วน (Propotions) ความเกลี้ยงเกลา(Polish) และความสมมาตร (Symmetry) ซึ่งถ้าเพชรเม็ดนั้นได้ Excellent ครบทั้ง 3 ปัจจัย จะเรียกว่า“Triple Excellent” หรือ 3EX  ในขณะที่รูปทรงอื่น ๆ จะพิจารณาเพียงแค่การขัดเงา และความสมมาตรเท่านั้น

ซึ่งการจะหาเพชรที่เจียระไนได้สมบูรณ์แบบยังถือเป็นเรื่องยาก เพราะบางครั้งช่างเพชรอาจต้องเจียระไนให้คงน้ำหนักกะรัตไว้มากที่สุด และทำให้เพชรอาจมีหน้ากว้าง หรือลึกเกินไปจนส่งผลต่อการสะท้อนของไฟ ในขณะที่บางครั้งช่างเพชรอาจจะต้องเจียระไนตำหนิออกไป เพื่อทำให้เพชรใสสะอาดมากที่สุด จนเพชรเปล่งประกายได้ไม่ดีเท่าที่ควร แม้กระทั่งเพชรน้ำงามที่ไร้สี หรือตำหนิอาจไม่สว่างสไว ระยิบระยับเท่าที่ควร หากไม่เจียระไนไม่ดีพอ

 

เกรดเพชร-แหวนเพชร

เกรดเพชรข้อใด “สำคัญที่สุด” ในการเลือกซื้อ

ความจริงแล้วเกรดเพชรไม่สำคัญเท่างบประมาณ และความต้องการของผู้ซื้อ อย่างไรก็ตามหากคุณมีงบที่จำกัด เกรดเพชรที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดคือการเจียระไน (Cut) เพราะมีผลต่อการสะท้อนแสง และความระยิบระยับของเพชร ซึ่งเป็นปัจจัยแรกที่สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะเพชรที่ตัดลึกเกินไปจะทำให้แสงกระจายออกมาด้านข้าง ในขณะที่ตัดตื้นเกินไปจะทำให้แสงกระจายลงด้านล่าง

ฉะนั้น การเลือกซื้อเพชรที่ไม่ถึงกะรัต เช่น เพชร 25 ตังค์ แต่มีเหลี่ยมเพชรที่สวยงาม ย่อมดีกว่าการซื้อเพชร 1 กะรัตที่เล่นไฟได้ไม่ดี เพราะเจียระไนไม่สวย เพราะจะสร้างมูลค่าได้ในระยะยาว และราว 50% ของการเจียระไรมีผลต่อมูลค่าของเพชร ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความงามของเพชรโดยตรง

ทั้งนี้ นอกจากเกรดเพชรที่กล่าวมาทั้งหมด การเลือกซื้อเพชรยังควรพิจารณาการสะท้อนไฟผ่านหน้าเพชร โดยอ้างอิงจากไฟ 3 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่:

  1. แสงพร่า: เป็นแสงสีขาวที่นิยมใช้ในออฟฟิศ ใช้เพื่อสังเกตรูปแบบพื้นที่สว่าง และพื้นที่มืดของเพชรซึ่งก่อให้เกิดความระยิบระยับ
  2. แสงที่ส่องเจาะจงเป็นจุด: เป็นแสง LED ที่พบเห็นได้ทั่วไปในร้านจิวเวลรี่ หรือแสงอาทิตย์ ใช้เพื่อสังเกตการกระจายแสงของเพชร แต่จะไม่เห็นความรูปแบบความสว่างเหมือนการส่องเพชรผ่านแสงพร่า
  3. แสงพร่า และแสงที่ส่องเจาะจงรวมกัน: เป็นเมื่อนำเพชรมาส่องกับไฟลักษณะนี้ จะยังคงเห็นทั้งรูปแบบความสว่าง และการกระจายแสงของเพชรเม็ดนั้นอยู่ ซึ่งเป็นลักษณะไฟที่ดีที่สุด

 

หากทำความเข้าใจกับเกรดเพชรได้แล้ว การเลือกซื้อเพชรก็จะเป็นเรื่องง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามการเลือกซื้อเพชรตั้งแต่ 1 กะรัตขึ้นไปควรขอใบรับรองด้วยทุกครั้ง และที่สำคัญควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเพชรก่อนซื้อ-ขาย เพื่อให้แน่ใจว่าเพชรที่ได้มา มีคุณภาพเหมาะสมกับราคาที่จ่าย และไม่ได้ซื้อคุณภาพสูงจนสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น ซึ่งที่ Celi (เซ-ลี่) ยินดีให้บริการคัดสรรเพชรน้ำงามในกะรัตที่คุ้มค่ามากที่สุด